วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จดหมายสมัครงาน

                                                                      23/2 ม.สินทวีสวนธน 2 ซ.ประชาอุทิศ 76
                                                                      ถ.ประขาอุทิศ แขวง ทุ่งครุ เขต ทุ่งครุ กทม.
                                                                      10140
                                                   18 กุมภาพันธ์ 2556
เรื่อง    ขอสมัครงาน
เรียน    ผู้จัดการฝ่ายบุคคล บริษัท พุทธรักษา จำกัด
สิ่งที่ส่งมาด้วย  1.ประวัติย่อ
                      2.ใบรับรองการศึกษา
                      3.รูปถ่าย
           ดิฉันทราบจากโฆณาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ว่าทางบริษัทของท่านต้องการรับสมัครพนักงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร ดิฉันมีความสนใจมาก จึงมีความประสงค์จะขอสมัครงานในตำแหน่งดังกล่าว ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
           ประการแรก บริษัทของท่านเป็นหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่ใช้บริการโฆษณาย่อยจากหนังสือพิมพ์ ในเครือของท่าน
           ประการที่สอง ดิฉันมีความสนใจงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านการพิสูจน์อักษร ซึ่งเป็นงานที่ดิฉันมั่นใจว่าจะสามารถใช้ความรู้และความสามารถที่เรียนมาทางด้านอักษรศาสตร์ วิชาเอกภาษาไทย ในระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เป็นระหว่างที่ศึกษาอยู่ ในระดับปริญญาตรี ดิฉันได้ทำกิจกรรมนอกหลักสูตรหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าว
           ดิฉันจึงมีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า ดิฉันจะสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษรได้ดี และหากท่านต้องการตรวจสอบประวัติของดิฉัน โปรดติดต่อได้โดยตรง ยังผู้ที่มีรายชื่อใน ประวัติย่อของดิฉัน พร้อมกันนี้ ดิฉันได้จัดส่งเอกสารต่าง ๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาของท่านแล้ว
           ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความกรุณาจากท่าน ให้เข้าพบเพื่ออธิบายในรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติม โดยท่านสามารถติดต่อดิฉันได้เบอร์โทรศัพท์ 089-9338811 และขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งต่อความกรุณาของท่านมา ณ ที่นี้
                                                   ขอแสดงความนับถือ
     
                                                   (นางสาวภาสินี   โอฬารศรีสกุล)

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิเคราะห์บทความนาฬิกาของร่างกาย

วิเคราะห์บทความนาฬิกาของร่างกาย
      
      นาฬิกาของร่างกาย การทำงานที่แสนมหัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์ คุณเคยทราบไหมว่า ร่างกายของคุณทำงานตามช่วงเวลา โดยอวัยวะภายในร่างกายของคนจะทำงานตามการสั่งงานของสมองแบบอัตโนมัติ ฉะนั้นเราจึงควรจะปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับการทำงานของร่างกายดังกล่าว จะได้ไม่ฝืนกับนาฬิกาชีวิต เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย
     01.00 น. - 03.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ตับ"
     ข้อควรปฏิบัติ : นอนหลับพักผ่อนให้สนิท
     อาหารบำรุง : อาหารที่ช่วยล้างพิษ เช่น งา น้ำผลไม้และน้ำสะอาด
     03.00 น. - 05.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ปอด"
     ข้อควรปฏิบัติ : ตื่นนอน สูดอากาศสดชื่น
     อาหารบำรุง : อาหารจำพวกเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอสูง เช่น ส้ม ผักใบเขียว น้ำผึ้ง หอมใหญ่

     05.00 น. - 07.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ลำไส้ใหญ่"
     ข้อควรปฏิบัติ : ขับถ่ายอุจจาระ
     อาหารบำรุง : อาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช

     07.00 น. - 09.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "กระเพาะอาหาร"
     ข้อควรปฏิบัติ : กินอาหารเช้า
     อาหารบำรุง : ควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน

     09.00 น. - 11.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ม้าม"
     ข้อควรปฏิบัติ : พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ
     อาหารบำรุง : มันเทศสีแดง หรือเหลือง อาหารที่ทำจากบุก

     11.00 น. - 13.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "หัวใจ"
     ข้อควรปฏิบัติ : หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง
     อาหารบำรุง : อาหารที่มีสีแดงตามธรรมชาติ เช่น ถั่วแดงและผลไม้สีแดง น้ำมันปลา วิตามินบีต่างๆ 

     13.00 น. - 15.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ลำไส้เล็ก"
     ข้อควรปฏิบัติ : งดกินอาหารทุกประเภท
     อาหารบำรุง : อาหารไขมันต่ำ น้ำสะอาด

     15.00 น. - 17.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "กระเพาะปัสสาวะ"
     ข้อควรปฏิบัติ : ทำให้เหงื่อออก (ออกกำลังกาย หรือ อบตัว)
     อาหารบำรุง : ผลไม้เช่น บิลเบอร์รี่ และทานน้ำสะอาดมากๆ

     17.00 น. - 19.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ไต"
     ข้อควรปฏิบัติ : ทำตัวให้สดชื่น ไม่ง่วงหงาวหาวนอน
     อาหารบำรุง : อาหารที่มีเกลือต่ำ รวมถึงสมุนไพรจีน เช่น ถั่งเฉ้า

     17.00 น. - 21.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "เยื่อหุ้มหัวใจ"
     ข้อควรปฏิบัติ : ทำสมาธิ หรือสวดมนต์
     อาหารบำรุง : อาหารจำพวกโปรตีนที่มีไขมันต่ำ รวมถึงวิตามินบีต่างๆ 

     21.00 น. - 23.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ระบบความร้อนของร่างกาย"
     ข้อควรปฏิบัติ : ห้ามอาบน้ำเย็น ห้ามตากลม ทำร่างกายให้อบอุ่น
     อาหารบำรุง : อาหารที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง โสม

     23.00 น. - 01.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ถุงน้ำดี"
     ข้อควรปฏิบัติ : ดื่มน้ำก่อนเข้านอน
     อาหารบำรุง : อาหารที่มีไขมันต่ำ และไม่ทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
ที่มา : http://guru.sanook.com/pedia/topic
วิเคราะห์บทความนาฬิกาของร่างกาย
       บทความนาฬิกาของร่างกายเป็นบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเวลาการทำงานของแต่ละอวัยวะในร่างกาย,แนวทางในการปฏิบัติตนในช่วงเวลานั้นที่จะทำให้อวัยวะนั้นๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ที่สุดและอาหารประเภทต่างๆที่จะช่วยบำรุงอวัยวะให้ทำงานได้ดีขึ้น บทความนี้ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เนื้อหากระชับได้ใจความ เป็นหลักความจริง,มีเหตุผล ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านเป็นอย่างมาก

ความผิดพลาดและการเริ่มต้นใหม่

  ความผิดพลาดและการเริ่มต้นใหม่
        
        บ่อยครั้งที่ชีวิตผิดพลาด..ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เรามักจะเอาสมาธิไปจดจ่ออยู่กับความผิดพลาดนั้น ซ้ำเติมตัวเองให้ทุกข์...ให้เสียใจ และพยายามจะสร้างคำถามเพื่อค้นหาคำตอบให้ตัวเองอยู่เสมอ
           ทั้งๆ ที่เราก็รู้ว่าคำตอบที่สร้างขึ้นมานั้น มัน "ไม่ใช่ความจริง" ที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากความเสียใจนั้นได้เลย เราจึงยอมติดกับดักความเสียใจอย่างถอนตัวไม่ขึ้น และกลายเป็นทาสของมันอย่างไม่รู้ตัว  
           รู้ว่าเสียใจแต่ก็ไม่ทำให้อะไรมันดีขึ้นมา และเราก็ไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีตได้ แต่ทำไมเรายังเป็นทุกข์กับการเลือกที่จะเสียใจ และทำชีวิตให้มันแย่ลงกว่าเดิมทุกวันๆ 
           ทั้งๆ ที่ก็รู้ว่ารสชาติของมันสุดแสนจะขมขื่นมากมายเพียงใด เพราะ "เราเริ่มต้นใหม่ไม่เป็น" เราเลยยังทุกข์ระทมไปกับความผิดพลาดของชีวิต สิ้นสุดแล้วแต่ก็เริ่มต้นใหม่ไม่ได้...ไปไม่เป็น...เหมือนจะมองเห็นทาง แต่ก็เลือกที่จะปิดหู ปิดตา และไม่พยายามจะเปิดใจ เราจึงต้องอยู่กับความเศร้าเสียใจอยู่ทุกคืนทุกวัน ตอกย้ำความผิดพลาดให้ตัวเองอยู่อย่างนั้น   
           ลองมองดูวิถีดอกทานตะวันบ้างสิ ชีวิตมีแต่ความเบิกบาน เพราะรู้จักที่จะใช้ชีวิตไปพร้อมๆ กับแสงตะวัน แสงสว่างที่ส่องนำทางให้ชีวิตทุกชีวิต..."ยังคงมีชีวิต" แม้ยามที่ดอกทานตะวันร่วงโรย ก็ยังคงทิ้งเมล็ดพันธุ์ให้เจริญเติบโต งอกงามและรับแสงตะวันได้ใหม่อีกครั้ง 
          เพราะฉะนั้นเราต้องไม่ปิดตัวเอง แล้วจมอยู่กับความคิดที่ว่าชีวิตต้องเริ่มต้นใหม่ไม่ได้ อย่าทำร้ายตัวเองด้วยการเศร้าเสียใจ แล้วปล่อยให้ชีวิตมันไหลไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีคุณค่าและไร้จุดมุ่งหมาย 
          จงใช้ชีวิตให้เป็นดั่งเช่นดอกทานตะวัน แม้ยามผิดพลาด เสียใจ ก็จะมีทางออกของชีวิตเสมอ อับจนหนทางอย่างไร แสงสว่างจากดวงตะวันก็จะคอยส่องทางให้เราได้พบเจอทางออก 
          "ชีวิตเราจึงมีทางออก ตราบใดที่บนโลกใบนี้ยังมีทิศตะวันออก" 
          แม้ว่าชีวิตจะยังมืดมน จะยังคงจมอยู่กับความผิดพลาด เศร้าใจ ก็จงเศร้าให้ถึงที่สุด เสียใจ ก็จงเสียใจเสียให้พอ หากยังร้องไห้ ขอให้ระบายน้ำตาออกมา อย่ากักเก็บมันไว้ เมื่อเราเสียใจอย่างถึงที่สุดแล้ว เราต้องกล้าลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเอง และพร้อมที่จะเป็นคนใหม่ ที่ใช้บทเรียนจากอดีต เป็นเหมือนเข็มทิศคอยช่วยบอกทางแก่ชีวิต เพราะ... 
           "ความเศร้านั้นมีข้อดีข้อเสียในตัวมันเอง ข้อเสียคือทำให้เราโศกเศร้า แต่ข้อดีของมันคือ...สอนให้เรารู้ว่าเราจะไม่ผิดพลาดตรงนี้อีก เราจะต้องไม่ร้องไห้ให้กับมันอีก" 
           ใครบางคนเคยบอกเอาไว้ตอนที่เสียใจกับความผิดพลาดของชีวิต เพราะฉะนั้นแล้วเกิดเป็นคน มีความรู้สึกรู้สาเหมือนกันหมด สามารถเศร้าเสียใจกับอดีตที่ผิดพลาดได้เหมือนกันหมด และก็เริ่มต้นใหม่เหมือนกันหมดเช่นเดียวกัน 
          ขอเพียงกล้าที่จะเป็นนกปีกหักที่พร้อมจะรักษาตัวเอง และออกเดินทางได้โดยไม่กลัวว่าหนทางข้างหน้า จะผิด พลาดซ้ำสอง อย่าลืมนะว่าเรามีโอกาสผิดพลาดได้บ่อยครั้งเท่าไหร่ เราก็เดินถูกทางมากขึ้นเท่านั้น

โชคดีที่วันนี้มีความทุกข์


โชคดีที่วันนี้มีความทุกข์
          สิ่งที่ยังไม่เกิด ความคิดนี่แหละที่บั่นทอนพละกำลังส่วนหนึ่งของความสุขที่ควรจะเกิด ควรจะมีให้ลดน้อยลงไป บางขณะ เราน่าจะทำชีวิตให้ดีกว่านั้นได้ง่ายๆ แต่เพราะความคิด ความกังวล ทำ ให้สิ่งที่น่าจะง่าย กลายเป็นสิ่งยุ่งยาก ถ้าความคิดบางอย่าง ยิ่งคิด ยิ่งเศร้า ยิ่งทำให้กังวล ยิ่งไม่มีความสุข ยิ่งหวาดกลัววันข้างหน้า ก็อย่าไปคิดมันเลย แค่ทำวันนี้ให้มีความสุข ทำให้ดีที่สุดกับเวลานี้ที่มีโอกาสนี้ บางที ใครจะรู้ว่า อะไรๆที่ไปกังวลนั้น อาจจะมาไม่ถึงก็ได้ ชีวิตอาจไม่ยาวนานถึงขนาดนั้น ไม่มีใครรู้ว่าพรุ่งนี้ จะตื่นหรือเปล่า
อย่ากังวลกับอะไรที่ยังมาไม่ถึง มองวันนี้ ทำวันนี้ มีความสุขกับทุกวินาทีนี้ที่ยังหายใจอยู่ดีกว่า เวลามีพอเสมอสำหรับความสุข . 
          ความทุกข์สร้างสิ่งมหัศจรรย์ ชีวิตที่พบความทุกข์ เป็นชีวิตที่แท้  ไม่มีความทุกข์ก็ไม่มีการเติบโต ความทุกข์เป็นพลังขับเคลื่อนให้หลายอย่างเกิด ไม่มีใครไม่มีความทุกข์ เพราะนั่นคือการเป็นชีวิต ความทุกข์สอนให้แต่ละคนเข้มแข็งในแง่มุมต่างๆ ถ้าความทุกข์ไม่เข้ามาหา ก็จะไม่รู้ว่า ความสุขที่แท้เป็นอย่างไร ไม่มีความทุกข์ ก็ไม่รู้จักความสุข เพราะความทุกข์พิสูจน์ความเป็นคน อ่อนแอ หรือเข้มแข็ง
         ความทุกข์เป็นสิ่งท้าทายความสามารถ ต่างจากความสุข ที่ทำให้อ่อนแอ มองโลกง่ายๆ แคบๆ ความสุขเหมือนฝนพรำสาย อ่อนโยน งดงาม บางเบา แต่ว่างเปล่า ไม่มีการเรียนรู้ใดในความสุข เมื่อใดที่มีความทุกข์ ควรยิ้มรับ และคิดว่าโชคดีที่ได้เจอความทุกข์ได้เรียนรู้การแก้ปัญหา ได้สงบ ได้สติ ได้ความนิ่ง ได้รู้จักโลก รู้จักตัวเอง รู้จักการเติบโตทุกๆก้าว ให้กำลังใจตัวเองมากๆ บอกตัวเองว่า
          "โชคดีที่วันนี้มีความทุกข์ เพราะเมื่อผ่านความทุกข์ ความสุขก็จะรออยู่เบื้องหน้า...จงใช้ความทุกข์สร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้กับชีวิต"
ทีมา : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=864139
เหตุผลที่ชอบ 
            บทความเรื่องโชคดีที่มีความทุกข์นี้ เป็นบทความที่ให้กำลังใจ และแนวทางในการดำเนินชีวิต โดยมีข้อคิดที่ข้าพเจ้าประทับใจดังนี้ "อย่ากังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง  ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด มีความสุขกับทุกวินามีที่ยังมีลมหายใจ อย่าไปกลัวกับความทุกข์ที่มาถึง ไม่มีใครไม่มีความ แต่ความทุกข์จะทำให้เราเข้มแข็งขึ้น ทำให้เราเติบโตมากขึ้น ดังนั้นควรโชคดีที่วันนี้เรามีความทุกข์" บทความนี้มีเนื้อหาที่กระชับ จับใจความง่าย ใช้ภาษาที่ข้าพเจ้าสามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง และคล้อยไปตามผู้เขียน




วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

วิเคราะห์เนื้อหาทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประวัติของผู้แต่ง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น
ที่มาของเรื่อง : บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงพระเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 41 หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น 11 หมวด ด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์, เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับ, เรียงร้อยถ้อยดนตรี, ชวนคิดพิจิตรภาษา, นานาโวหาร, คำขานไพรัช, สมบัติภูมิปัญญา, ธาราความคิด, นิทิศบรรณา,สาราจากใจ และ มาลัยปกิณกะ ในหมวด ชวนคิดพิจิตรภาษา เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม 4 เรื่อง คือ ภาษาไทยกับคนไทย, การใช้สสรพนาม, วิจารย์คำอธิบายเรื่องนามกิตก์ในไวยากรณ์บาลีและ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง : 
1.เป็นรูปแบบความเรียงพิจารณาวรรณกรรมโดยแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา
2.เป็นตัวอย่างการใช้ถ้อยคำเรียบง่าย กะทัดรัด สละสลวย ประโยคสั้นๆง่ายๆ
3.สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าพระทัยปัญหาของชาวนาทั้งยังทรงแสดงพระเมตตาเห็นใจความทุกข์ยากลำบากของชาวนา
ลักษณะคำประพันธ์ : ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็น บทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการสำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด ความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการ โต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อนอย่างไรก็ตาม บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรนำเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการส้างสรรค์ ไม่ใช่บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการ วิเคราะห์ปัญหา การใช้ปัญหาไตร่ตรองโดยปราศจากอคติและการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
วิเคราะห์เนื้อหา : ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ทรงขึ้นความนำด้วย บทกาพย์ยานี ชื่อ เปิปข้าว ของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นทำนองทวงบุญคุณจากทุกคนว่า ทุกครั้งที่กินข้าวก็ขอให้นึกว่า ชาวนาทุกคนทุกข์ยากลำบากเพียงใดกว่าจะได้ข้าวมาให้คนกิน
        ทรงดำเนินเนื้อหาความว่า ชาวนาทุกข์ยาก และยากจนเกินกว่าที่จะเรียกร้องลำเลิกกับใครๆ การทำนานั้นเหนื่อยยาก และยากจนที่สุดในพวกเกษตรกรรม ถ้ามีทางเป็นไปได้ก็ไม่มีอยากเป็นชาวนา
        ทรงยกตัวอย่างบทกวีจีน ผู้แต่งชื่อ หลี่เชิน อยู่เมืองอู่ซี ที่แต่งไว้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 ในสมัยราชวงศ์ถัง ที่พรรณาถึงความทุกข์ของชาวนาว่าทำงานหนักแสนสาหัส
        ทรงเปรียบเทียบบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ กับหลี่เชิน ว่ากวีทั้งสองอยู่ในยุคสมัยที่ห่างกันถึงพันกว่าปี แต่ต่างก็แต่งแสดงความคิดเห็นความทุกข์ยากของชาวนาเหมือนกัน ต่างกันแต่กลวิธีคือ หลี่เชินนั้นเหมือนวาดภาพชาวนาให้คนเห็น ส่วนจิตรนั้นเหมือนชาวนามาเรียกร้องด้วยตนเอง
        สมเด็จพระเทพฯ ทรงกล่าวถึงบทกวีของหลี่เชินว่า ใช้ถ้อยคำเรียบๆง่าย แต่แสดงความขัดแย้งให้เห็นชัดเจนว่า สภาพภูมิดากาศและพื้นดินในยุคนั้นอุดมสมบูรณ์ พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ แต่ผลผลิตก็ไม่ได้ตกแก่ชาวนา ชาวนาทำงานหนักแต่ก็ยากจน
        ทรงกล่าวว่า สภาพบ้านเมืองเปลี่ยนไป จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นกวีในยุคนี้ และพระองค์เองก็ทรงเห็นว่าไม่มีอะไรต่างกันจากเมื่อพันกว่าปีที่แล้ว คือ ชาวนาก็คงยากจน และมีความทุกข์อยู่เช่นเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นน้ำพระทัยของพระองค์ว่า ทรงเข้าใจและเห็นใจชาวนาเป็นอย่างยิ่ง
คำศัพท์ : 
กำซาบ = ซึมเข้าไป
เขียวคาว = สีเขียวของข้าว ซึ่งน่าจะหอมสดชื่นกลับมีกลิ่นเหม็นคาว เพราะข้าวนี้เกิดจากหยาดเหงื่อ ซึ่งแสดงถึงความทุกข์ยากและความชมชื่นของชาวนา
จำนำพืชผลเกษตร = การนำผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวไปฝากกับหน่วยงานที่รับฝากไว้ก่อนเพื่อเอาเงินในอนาคตมาใช้ก่อน
ฎีกา = คำร้องทุกข์  การร้องทุกข์
ธัญพืช = มาจากภาษาบาลีว่า ธัญพืช เช่น  ข้าว  ข้าวสาลี  ข้าวโพด ที่ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก
นิสิต = ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย
ประกันราคา = การที่รัฐ เอกชน หรือองค์กรต่าง ๆ รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่กำหนดไว้ในอนาคต ไม่ว่าราคาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
เปิบ = วิธีการใช้ปลายนิ้วขยุ้มข้าวใส่ปากตนเอง
พืชเศรษฐกิจ = พืชที่สามารถขายได้ราคาดี  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย  ปาล์มน้ำมัน
ภาคบริการ = อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น  เช่น  พนักงานในร้านอาหาร  ช่างเสริมสวย
วรรณศิลป์ = ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ
สวัสดิการ = การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสะดวกสบายเช่น  มีสถานพยาบาล  มีที่พักอาศัย  จัดรถรับส่ง
สู = สรรพนามบุรุษที่ 2  เป็นคำโบราณ
อาจิณ = ประจำ
อุทธรณ์ = ร้องเรียน  ร้องทุกข์
ลำเลิก = กล่าวทวงบุญคุณ กล่าวคำตัดพ้อต่อว่า โดยยกเอาความดีที่ตนทำไว้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง        เพื่อให้สำนึกบุญคุณที่ตนมีอยู่กับผู้นั้น
ข้อคิดที่ได้รับ :
1.ได้รู้ความสำคัญเกี่ยวกับอาชีพของชาวนาว่าเป็นยังไง
2.ได้รู้ว่าชาวนาต้องลำบากเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้ตามความต้อการ 
3.ได้รู้ว่าทั้งหลี่เจินและจิตร ภูมิศักดิ์ ได้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับชาวนา
สรุป :
        พระราชนิพนธ์เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี แสดงให้เห็นถึงความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตา อันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ทำงานแบบหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดินตลอดทั้งปี ดังนั้นในฐานะผู้บริโภคจึงควรสำนึกในคุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูกข้าวอันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของคนไทย