วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์

ภาระงานที่ 1 เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์

                                     อเสวนา จ พาลานํ           ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา                                                 ปูชา จ ปูชนียานํ             เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
                                หนึ่งคือบ่คบพาล                 เพราะจะพาประพฤติผิด
                                หนึ่งคบกะบัณฑิต                เพราะจะพาประสพผล
                                ข้อนี้แหละมงคล                  อดิเรกอุดมดี
          คำประพันธ์บทนี้กล่าวถึงมงคลประการที่ ๑ ถึง ๓ ซึ่งเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการคบคนหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลรอบข้าง เริ่มตั้งแต่การหลีกเลี่ยงจากคนพาล การสมาคมกับคนดี และการมีสัมมาคารวะต่อบุคลที่เคารพ ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับทุกคน เนื่องจากการที่เราคบคนเช่นใด โอกาสที่จะทำให้เรากลายเป็นคนเช่นนั้นหรือมีพฤติกรรมที่คล้ายกัน และนอกจากการรู้จักเลือกคบคนแล้ว การมีสัมมาคารวะหรือการรู้จักเคารพต่อบุคคลที่ควรบูชาเคารพ ย่อมทำให้เราเป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไป และยังได้รับความเมตตาหรือคำแนะนำที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตอีกด้วย
 1.อเสวนา จ พาลานํ  หนึ่งคือบ่คบพาล     เพราะจะพาประพฤติผิด  
         หมายถึง การไม่คบคนพาล
         คนพาล คือ คนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นผลให้มีความเห็นผิด ยึดถือค่านิยมผิด ๆ และมีวินิจฉัยเสีย คือ ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่วอะไรควรอะไรไม่ควร เช่น บัณฑิตเห็นว่า"เหล้า" เป็นของจัญไรทำให้ขาดสติ นำความเสื่อมมาให้นานัปการแต่คนพาลกลับเห็นว่า "เหล้า" เป็นของประเสริฐเป็นเครื่องกระชับมิตร  หรือบัณฑิตเห็นว่า "การเล่นไพ่" เป็นอบายมุข เป็นทางแห่งความฉิบหาย แต่คนพาลกลับเห็นว่า "การเล่นไพ่"เป็นสิ่งดี  เป็นการฝึกสมองซ้อมวิชาคำนวณ ดังนี้เป็นต้น
         คนพาลเป็นคนเหมือนกับเรา คือมีร่างกายประกอบด้วยเลือดเนื้อเช่นเดียวกับเรา  และอาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเราก็ได้เช่น เป็นญาติพี่น้อง สามีภรรยา ครู  อาจารย์  ฯลฯ อาจเป็นผู้มีการศึกษาสูง อาจมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง อาจมีสมัครพรรคพวกมากแม้กระทั่งอาจบวชเป็นพระภิกษุ ฯลฯ  แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร มีความสัมพันธ์กับเราหรือไม่ ขึ้นชื่อว่าพาลแล้ว ถึงแม้จะมีความรู้  มีความสามารถก็ไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ถูกที่ควร เพราะเขาแสลงต่อความดี เหมือนคนไข้แสลงต่อน้ำเย็น
2.ณฺฑิตานญฺจ เสวนา  หนึ่งคบกะบัณฑิต   เพราะจะพาประสพผล
          หมายถึง คบบันฑิต
          บัณฑิต คือคนที่มีใจผ่องใสอยู่เป็นปกติวิสัย ทำให้มีความเห็นถูกยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง  สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา
          -เป็นผู้รู้ดี  คือ  รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว
          -เป็นผู้รู้ถูก คือ  รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด
          -เป็นผู้รู้ชอบ คือ รู้ว่าอะไรบุญอะไรบาป
          บัณฑิต อาจเป็นใครก็ได้ เช่น  อาจเป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก อาจเป็นชาวไร่ชาวนา อาจเป็นผู้ทีมีการศึกษาสูง  อาจเป็นญาติของเรา  ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามจะต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจผ่องใสและดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา คือเป็นคนดีนั่นเอง
คนทั่วไปมักเข้าใจว่า ผู้ที่เรียนหนังสือจนได้รับปริญญานั้นคือ บัณฑิต แท้จริงนั่นเป็นเพียงบัณฑิตทางโลกเท่านั้น  ยัง ไม่ใช่บัณฑิตที่แท้จริงเพราะผู้ที่ได้รับปริญญาแล้ว ถ้าความประพฤติไม่ดี อาจไปทำผิดติดคุกติดตะรางได้ แต่บัณฑิตที่แท้จริงย่อมเป็นผู้ตั้งใจละชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่ความดี  ความถูกต้อง ความสุจริตสามารถป้องกันตนให้พ้นจากคุกจากตะรางและแม้กระทั่งจากนครได้ "บัณฑิตมิใช่ผู้มีเพียงปริญญา แต่คือผู้อุดมศีล สมาธิ ปัญญา"
3.ปูชา จ ปูชนียานํ  หนึ่งกราบและบูชา      อภิบูชะนีย์ชน
            หมายถึง บูชาผู้ที่ควรบูชา
            การบูชา คือ การยกย่อง เชิดชู เลื่อมใส ด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจไม่เสแสร้งแกล้งทำ หมายถึงกิริยาอาการสุภาพ ที่เราแสดงต่อผู้ที่ควรบูชาทั้งต่อหน้าและลับหลัง การแสดงต่อหน้า เป็นการแสดงให้ท่านทราบว่าเรามีความเคารพและตระหนักในคุณธรรมความดีที่มี อยู่ในตัวของท่านอย่างจริงใจ การแสดงลับหลัง เป็นการเตือนใจตัวเราเอง ให้ผูกใจไว้กับคุณธรรมอันสูงส่งของท่าน ก่อให้เกิดความรู้สึกอยากกระทำตาม ใจเราจะได้ยกสูงขึ้นเสมอ ๆ ไม่เลื่อมไหลไปในทางชั่วร้าย
            การบูชาเป็นอุบายอย่างหนึ่งสำหรับฝึกใจที่ยังหยาบกระด้างเพราะไม่อาจยอมรับคุณความ ดีของผู้อื่น ให้ละเอียดอ่อนลง ผู้ที่ยังด้อยปัญญายังไม่เข้าใจในคุณธรรมความดีของผู้ที่ควรบูชานัก แต่หากไม่เคยชินกับการบูชาแล้วในที่สุดย่อมสามารถเล็งเห็นคุณธรรมความดีที่ มีอยู่ในตัวของผู้ที่เราบูชาได้อย่างแจ่มชัด จนเกิดความเลื่อมใสกลายเป็นการบูชาอย่างแท้จริงอยากทำความดีตามท่านบ้าง ผู้ใหญ่จึงควรสอนบุตรหลานให้รู้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยเป็นการปุลูกศรัทธา ตั้งแต่เล็ก ๆ


วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง

เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง

         เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้องในความหมายของข้าพเจ้า คือ การที่คนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตรงกัน ซึ่งอาจจะขัดแย้งกับความคิดเห็นของคนส่วนน้อย แต่เราจะถือว่าความคิดเห็นของคนส่วนมากถูกต้อง แต่ในบางครั้งเสียงข้างมากก็ไม่ได้ถูกเสมอไป เราจึงควรคำนึงถึงหลักการ เหตุผล กฎหมาย และศีลธรรม ก่อนที่จะคิดว่าเสียงส่วนใหญ่ถูกต้อง 
         ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นเรื่องธรรรมดา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่คนทุกคนในสังคมหลายๆล้านคนจะคิดเห็นตรงกัน เมื่อเสียงส่วนใหญ่เห็นอย่างไรเสียงส่วนน้อยต้องยอมรับ แต่เสียงส่วนน้อยก็สามารถแสดงเหตุผลโต้แย้งได้ แต่หากเสียงส่วนใหญ่ยืนยันตามเดิมเสียงส่วนน้อยก็ต้องยอมรับไม่ใช่ไม่ยอมรับ ก็กระทำทุกวิธีในการต่อต้าน เช่น คนกินสุนัขเป็นเรื่องไม่ถูกต้องสำหรับสังคมหนึ่ง แต่สำหรับอีกสังคมหนึ่งไม่ใช่ ขึ้นอยู่กับคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นๆ
         ดังนั้นความถูกผิดทางสังคมจึงเป็นเรื่องของจารีตประเพณี วัฒนธรรมทางสังคมในขณะนั้นๆ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาของสังคมในแต่ละช่วงเวลา จะเอาจารีตประเพณีเก่ามาตัดสินปัจจุบันตลอดเวลาไม่ได้ เมื่อคนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบันเห็นว่าเรื่องใดยอมรับได้ ก็ถือว่าเรื่องนั้นไม่ผิดซึ่งแตกต่างกับความจริงทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นความจริงตลอดกาล มีวิธีพิสูจน์ได้แน่ชัด ไม่ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จึงไม่สามารถใช้ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่มาตัดสินความถูกผิด นั่นหมายความว่าการอ้างความเห็นคนส่วนใหญ่ใช้กับทางสังคมเท่านั้นไม่นำไปใช้ กับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ และความเห็นทางสังคมคนส่วนใหญ่ขณะนั้นต้องถูกต้องเสมอ ณ เวลานั้นๆ ซึ่งต่อมาสังคมเปลี่ยนไปอาจมองกลับไปว่าที่ผ่านมาผิดสำหรับสังคมปัจจุบันก็ ได้ แต่ไม่ควรถือว่าอดีตผิด เพราะสภาพทางสังคมต่างกันจะเอาสภาพสังคมปัจจุบันไปตัดสินสังคมในอดีตหรือเอา สภาพทางสังคมอดีตตัดสินปัจจุบันไม่ได้ เพียงเป็นการเรียนรู้อดีตเท่านั้น เพื่อทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
          "เสียงส่วนใหญ่" น่าจะเป็นแค่จุดเริ่มของหลาย ๆ อย่าง เพื่อทำให้แต่และคนสามารถอยู่ร่วมกันได้สังคม เช่น กฎหมาย แต่ถึงขนาดคือความถูกต้องก็ไม่เสมอไป ในภาวะไม่ปกติยิ่งน่าเห็นชัด ขึ้นกับหลาย ๆ ปัจจัย ความรู้ กระแสการชี้นำ ช่วงเวลา ภาวะแวดล้อมชีวิตประจำวัน การใช้งาน ฯลฯ การมองเสียงส่วนใหญ่ ก็ต้องมองเสียงเต็มนิยามว่าอะไร มิติไหน ผลลัพธ์ก็จะเปลี่ยนไป
          ในการปกครองของไทยในระบอบประชาธิปไตยจะยึดหลัก "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" หมายถึง การตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอาศัยหลักเกณฑ์คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมด การตัดสินใจเลือกสองตัวเลือกเป็นการตัดสินใจที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากใน กระบวนการตัดสินใจ รวมไปถึงการผ่านกฎหมายในชาติประชาธิปไตย นอกจากนี้ นักวิชาการบางกลุ่มได้สนับสนุนให้มีการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ อย่างน้อยก็ในกรณีแวดล้อมที่เหมาะสม อันเนื่องมาจากความต่อเนื่องกันของผลประโยชน์กับลักษณะอื่น ๆ ในสังคมประชาธิปไตย
           โดยแนวคิดที่ว่า การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ จะนำไปสู่ "เผด็จการเสียงข้างมาก" การใช้กฎเหนือเสียงส่วนใหญ่ และการจำกัดอำนาจของรัฐบาลโดยรัฐธรรมนูญจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้ลง ได้ ในปัจจุบันนี้ นักทฤษฎีเลือกตั้งบางคนได้โต้แย้งว่า แนวคิดดังกล่าวจะเป็นการช่วยปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยได้ดีที่สุดในปัจจุบัน ดังนั้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคือการยึดถือเสียงข้างมากแต่ยังคงคำนึงถึงเสียงส่วนน้อย ให้ความสำคัญกับทุกเสียง เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเราธำรงอยู่ได้ด้วยความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางการเมืองทางสังคม
           ประโยชน์ของการยึดถือว่าเสียงส่วนใหญ่ถูกต้อง เพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง ตอบโจทย์ของทุกๆคน สร้างความพึงพอใจให้กับคนส่วนมาก และส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องจริง ทำให้เป็นการตัดสินใจเพื่อพัฒนาบุคคล สังคม และประเทศชาติ
           ผลเสียคือ ความคิดเห็นของส่วนใหญ่ในบ้างครั้งก็ผิดพลาด เช่น ในห้องมีนักเรียนอยู่ 20 คน มีคำถามว่า สีแดงผสมกับสีน้ำเงินได้สีอะไร ได้เท่าไร คน 19 คนตอบ สีส้ม แต่ 1 คน ตอบสีม่วง ก็จะถือว่าเสียงส่วนน้อยถูก แม้เสียงส่วนมากจะตอบแตกต่างไป
           การแสดงความคิดเห็นของคนเราเป็นสิ่งที่ดีที่ได้แสดงความคิด เหตุผล ความกล้าแสดงออกของเรา แม้แต่ละคนจะมีความคิดที่แตกต่าง ซึ่งแต่ละคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ      การแสดงความคิดเห็นเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมหลักการของประชาธิปไตยที่เป็นระบอบการปกครองของไทย ดังนั้นเราควรใส่ใจในการแสดงความคิดเห็น และแม้จะถือว่าเสียงส่วนใหญ่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ควรละเลยเสียงส่วนน้อย จึงจะเป็นวิธีที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสังคม