วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง

เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง

         เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้องในความหมายของข้าพเจ้า คือ การที่คนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตรงกัน ซึ่งอาจจะขัดแย้งกับความคิดเห็นของคนส่วนน้อย แต่เราจะถือว่าความคิดเห็นของคนส่วนมากถูกต้อง แต่ในบางครั้งเสียงข้างมากก็ไม่ได้ถูกเสมอไป เราจึงควรคำนึงถึงหลักการ เหตุผล กฎหมาย และศีลธรรม ก่อนที่จะคิดว่าเสียงส่วนใหญ่ถูกต้อง 
         ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นเรื่องธรรรมดา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่คนทุกคนในสังคมหลายๆล้านคนจะคิดเห็นตรงกัน เมื่อเสียงส่วนใหญ่เห็นอย่างไรเสียงส่วนน้อยต้องยอมรับ แต่เสียงส่วนน้อยก็สามารถแสดงเหตุผลโต้แย้งได้ แต่หากเสียงส่วนใหญ่ยืนยันตามเดิมเสียงส่วนน้อยก็ต้องยอมรับไม่ใช่ไม่ยอมรับ ก็กระทำทุกวิธีในการต่อต้าน เช่น คนกินสุนัขเป็นเรื่องไม่ถูกต้องสำหรับสังคมหนึ่ง แต่สำหรับอีกสังคมหนึ่งไม่ใช่ ขึ้นอยู่กับคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นๆ
         ดังนั้นความถูกผิดทางสังคมจึงเป็นเรื่องของจารีตประเพณี วัฒนธรรมทางสังคมในขณะนั้นๆ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาของสังคมในแต่ละช่วงเวลา จะเอาจารีตประเพณีเก่ามาตัดสินปัจจุบันตลอดเวลาไม่ได้ เมื่อคนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบันเห็นว่าเรื่องใดยอมรับได้ ก็ถือว่าเรื่องนั้นไม่ผิดซึ่งแตกต่างกับความจริงทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นความจริงตลอดกาล มีวิธีพิสูจน์ได้แน่ชัด ไม่ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จึงไม่สามารถใช้ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่มาตัดสินความถูกผิด นั่นหมายความว่าการอ้างความเห็นคนส่วนใหญ่ใช้กับทางสังคมเท่านั้นไม่นำไปใช้ กับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ และความเห็นทางสังคมคนส่วนใหญ่ขณะนั้นต้องถูกต้องเสมอ ณ เวลานั้นๆ ซึ่งต่อมาสังคมเปลี่ยนไปอาจมองกลับไปว่าที่ผ่านมาผิดสำหรับสังคมปัจจุบันก็ ได้ แต่ไม่ควรถือว่าอดีตผิด เพราะสภาพทางสังคมต่างกันจะเอาสภาพสังคมปัจจุบันไปตัดสินสังคมในอดีตหรือเอา สภาพทางสังคมอดีตตัดสินปัจจุบันไม่ได้ เพียงเป็นการเรียนรู้อดีตเท่านั้น เพื่อทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
          "เสียงส่วนใหญ่" น่าจะเป็นแค่จุดเริ่มของหลาย ๆ อย่าง เพื่อทำให้แต่และคนสามารถอยู่ร่วมกันได้สังคม เช่น กฎหมาย แต่ถึงขนาดคือความถูกต้องก็ไม่เสมอไป ในภาวะไม่ปกติยิ่งน่าเห็นชัด ขึ้นกับหลาย ๆ ปัจจัย ความรู้ กระแสการชี้นำ ช่วงเวลา ภาวะแวดล้อมชีวิตประจำวัน การใช้งาน ฯลฯ การมองเสียงส่วนใหญ่ ก็ต้องมองเสียงเต็มนิยามว่าอะไร มิติไหน ผลลัพธ์ก็จะเปลี่ยนไป
          ในการปกครองของไทยในระบอบประชาธิปไตยจะยึดหลัก "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" หมายถึง การตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอาศัยหลักเกณฑ์คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมด การตัดสินใจเลือกสองตัวเลือกเป็นการตัดสินใจที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากใน กระบวนการตัดสินใจ รวมไปถึงการผ่านกฎหมายในชาติประชาธิปไตย นอกจากนี้ นักวิชาการบางกลุ่มได้สนับสนุนให้มีการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ อย่างน้อยก็ในกรณีแวดล้อมที่เหมาะสม อันเนื่องมาจากความต่อเนื่องกันของผลประโยชน์กับลักษณะอื่น ๆ ในสังคมประชาธิปไตย
           โดยแนวคิดที่ว่า การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ จะนำไปสู่ "เผด็จการเสียงข้างมาก" การใช้กฎเหนือเสียงส่วนใหญ่ และการจำกัดอำนาจของรัฐบาลโดยรัฐธรรมนูญจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้ลง ได้ ในปัจจุบันนี้ นักทฤษฎีเลือกตั้งบางคนได้โต้แย้งว่า แนวคิดดังกล่าวจะเป็นการช่วยปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยได้ดีที่สุดในปัจจุบัน ดังนั้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคือการยึดถือเสียงข้างมากแต่ยังคงคำนึงถึงเสียงส่วนน้อย ให้ความสำคัญกับทุกเสียง เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเราธำรงอยู่ได้ด้วยความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางการเมืองทางสังคม
           ประโยชน์ของการยึดถือว่าเสียงส่วนใหญ่ถูกต้อง เพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง ตอบโจทย์ของทุกๆคน สร้างความพึงพอใจให้กับคนส่วนมาก และส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องจริง ทำให้เป็นการตัดสินใจเพื่อพัฒนาบุคคล สังคม และประเทศชาติ
           ผลเสียคือ ความคิดเห็นของส่วนใหญ่ในบ้างครั้งก็ผิดพลาด เช่น ในห้องมีนักเรียนอยู่ 20 คน มีคำถามว่า สีแดงผสมกับสีน้ำเงินได้สีอะไร ได้เท่าไร คน 19 คนตอบ สีส้ม แต่ 1 คน ตอบสีม่วง ก็จะถือว่าเสียงส่วนน้อยถูก แม้เสียงส่วนมากจะตอบแตกต่างไป
           การแสดงความคิดเห็นของคนเราเป็นสิ่งที่ดีที่ได้แสดงความคิด เหตุผล ความกล้าแสดงออกของเรา แม้แต่ละคนจะมีความคิดที่แตกต่าง ซึ่งแต่ละคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ      การแสดงความคิดเห็นเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมหลักการของประชาธิปไตยที่เป็นระบอบการปกครองของไทย ดังนั้นเราควรใส่ใจในการแสดงความคิดเห็น และแม้จะถือว่าเสียงส่วนใหญ่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ควรละเลยเสียงส่วนน้อย จึงจะเป็นวิธีที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสังคม    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น