วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์

ภาระงานที่ 1 เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์

                                     อเสวนา จ พาลานํ           ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา                                                 ปูชา จ ปูชนียานํ             เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
                                หนึ่งคือบ่คบพาล                 เพราะจะพาประพฤติผิด
                                หนึ่งคบกะบัณฑิต                เพราะจะพาประสพผล
                                ข้อนี้แหละมงคล                  อดิเรกอุดมดี
          คำประพันธ์บทนี้กล่าวถึงมงคลประการที่ ๑ ถึง ๓ ซึ่งเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการคบคนหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลรอบข้าง เริ่มตั้งแต่การหลีกเลี่ยงจากคนพาล การสมาคมกับคนดี และการมีสัมมาคารวะต่อบุคลที่เคารพ ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับทุกคน เนื่องจากการที่เราคบคนเช่นใด โอกาสที่จะทำให้เรากลายเป็นคนเช่นนั้นหรือมีพฤติกรรมที่คล้ายกัน และนอกจากการรู้จักเลือกคบคนแล้ว การมีสัมมาคารวะหรือการรู้จักเคารพต่อบุคคลที่ควรบูชาเคารพ ย่อมทำให้เราเป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไป และยังได้รับความเมตตาหรือคำแนะนำที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตอีกด้วย
 1.อเสวนา จ พาลานํ  หนึ่งคือบ่คบพาล     เพราะจะพาประพฤติผิด  
         หมายถึง การไม่คบคนพาล
         คนพาล คือ คนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นผลให้มีความเห็นผิด ยึดถือค่านิยมผิด ๆ และมีวินิจฉัยเสีย คือ ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่วอะไรควรอะไรไม่ควร เช่น บัณฑิตเห็นว่า"เหล้า" เป็นของจัญไรทำให้ขาดสติ นำความเสื่อมมาให้นานัปการแต่คนพาลกลับเห็นว่า "เหล้า" เป็นของประเสริฐเป็นเครื่องกระชับมิตร  หรือบัณฑิตเห็นว่า "การเล่นไพ่" เป็นอบายมุข เป็นทางแห่งความฉิบหาย แต่คนพาลกลับเห็นว่า "การเล่นไพ่"เป็นสิ่งดี  เป็นการฝึกสมองซ้อมวิชาคำนวณ ดังนี้เป็นต้น
         คนพาลเป็นคนเหมือนกับเรา คือมีร่างกายประกอบด้วยเลือดเนื้อเช่นเดียวกับเรา  และอาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเราก็ได้เช่น เป็นญาติพี่น้อง สามีภรรยา ครู  อาจารย์  ฯลฯ อาจเป็นผู้มีการศึกษาสูง อาจมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง อาจมีสมัครพรรคพวกมากแม้กระทั่งอาจบวชเป็นพระภิกษุ ฯลฯ  แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร มีความสัมพันธ์กับเราหรือไม่ ขึ้นชื่อว่าพาลแล้ว ถึงแม้จะมีความรู้  มีความสามารถก็ไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ถูกที่ควร เพราะเขาแสลงต่อความดี เหมือนคนไข้แสลงต่อน้ำเย็น
2.ณฺฑิตานญฺจ เสวนา  หนึ่งคบกะบัณฑิต   เพราะจะพาประสพผล
          หมายถึง คบบันฑิต
          บัณฑิต คือคนที่มีใจผ่องใสอยู่เป็นปกติวิสัย ทำให้มีความเห็นถูกยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง  สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา
          -เป็นผู้รู้ดี  คือ  รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว
          -เป็นผู้รู้ถูก คือ  รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด
          -เป็นผู้รู้ชอบ คือ รู้ว่าอะไรบุญอะไรบาป
          บัณฑิต อาจเป็นใครก็ได้ เช่น  อาจเป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก อาจเป็นชาวไร่ชาวนา อาจเป็นผู้ทีมีการศึกษาสูง  อาจเป็นญาติของเรา  ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามจะต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจผ่องใสและดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา คือเป็นคนดีนั่นเอง
คนทั่วไปมักเข้าใจว่า ผู้ที่เรียนหนังสือจนได้รับปริญญานั้นคือ บัณฑิต แท้จริงนั่นเป็นเพียงบัณฑิตทางโลกเท่านั้น  ยัง ไม่ใช่บัณฑิตที่แท้จริงเพราะผู้ที่ได้รับปริญญาแล้ว ถ้าความประพฤติไม่ดี อาจไปทำผิดติดคุกติดตะรางได้ แต่บัณฑิตที่แท้จริงย่อมเป็นผู้ตั้งใจละชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่ความดี  ความถูกต้อง ความสุจริตสามารถป้องกันตนให้พ้นจากคุกจากตะรางและแม้กระทั่งจากนครได้ "บัณฑิตมิใช่ผู้มีเพียงปริญญา แต่คือผู้อุดมศีล สมาธิ ปัญญา"
3.ปูชา จ ปูชนียานํ  หนึ่งกราบและบูชา      อภิบูชะนีย์ชน
            หมายถึง บูชาผู้ที่ควรบูชา
            การบูชา คือ การยกย่อง เชิดชู เลื่อมใส ด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจไม่เสแสร้งแกล้งทำ หมายถึงกิริยาอาการสุภาพ ที่เราแสดงต่อผู้ที่ควรบูชาทั้งต่อหน้าและลับหลัง การแสดงต่อหน้า เป็นการแสดงให้ท่านทราบว่าเรามีความเคารพและตระหนักในคุณธรรมความดีที่มี อยู่ในตัวของท่านอย่างจริงใจ การแสดงลับหลัง เป็นการเตือนใจตัวเราเอง ให้ผูกใจไว้กับคุณธรรมอันสูงส่งของท่าน ก่อให้เกิดความรู้สึกอยากกระทำตาม ใจเราจะได้ยกสูงขึ้นเสมอ ๆ ไม่เลื่อมไหลไปในทางชั่วร้าย
            การบูชาเป็นอุบายอย่างหนึ่งสำหรับฝึกใจที่ยังหยาบกระด้างเพราะไม่อาจยอมรับคุณความ ดีของผู้อื่น ให้ละเอียดอ่อนลง ผู้ที่ยังด้อยปัญญายังไม่เข้าใจในคุณธรรมความดีของผู้ที่ควรบูชานัก แต่หากไม่เคยชินกับการบูชาแล้วในที่สุดย่อมสามารถเล็งเห็นคุณธรรมความดีที่ มีอยู่ในตัวของผู้ที่เราบูชาได้อย่างแจ่มชัด จนเกิดความเลื่อมใสกลายเป็นการบูชาอย่างแท้จริงอยากทำความดีตามท่านบ้าง ผู้ใหญ่จึงควรสอนบุตรหลานให้รู้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยเป็นการปุลูกศรัทธา ตั้งแต่เล็ก ๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น