วิเคราะห์เนื้อหาทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประวัติของผู้แต่ง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์
เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรง
พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี
ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง
และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน
ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น
ที่มาของเรื่อง : บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533
ในวโรกาสที่พระองค์ทรงพระเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 41 หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง
มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น 11 หมวด ด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์,
เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับ, เรียงร้อยถ้อยดนตรี,
ชวนคิดพิจิตรภาษา, นานาโวหาร, คำขานไพรัช, สมบัติภูมิปัญญา, ธาราความคิด,
นิทิศบรรณา,สาราจากใจ และ มาลัยปกิณกะ ในหมวด ชวนคิดพิจิตรภาษา
เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม 4 เรื่อง คือ ภาษาไทยกับคนไทย,
การใช้สสรพนาม, วิจารย์คำอธิบายเรื่องนามกิตก์ในไวยากรณ์บาลีและ
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง :
1.เป็นรูปแบบความเรียงพิจารณาวรรณกรรมโดยแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา
2.เป็นตัวอย่างการใช้ถ้อยคำเรียบง่าย กะทัดรัด สละสลวย ประโยคสั้นๆง่ายๆ
3.สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าพระทัยปัญหาของชาวนาทั้งยังทรงแสดงพระเมตตาเห็นใจความทุกข์ยากลำบากของชาวนา
ลักษณะคำประพันธ์ : ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็น บทความแสดงความคิดเห็น
ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์
การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการสำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง
และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด
ความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการ
โต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อนอย่างไรก็ตาม
บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรนำเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด
หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการส้างสรรค์
ไม่ใช่บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการ
วิเคราะห์ปัญหา
การใช้ปัญหาไตร่ตรองโดยปราศจากอคติและการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
วิเคราะห์เนื้อหา : ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ทรงขึ้นความนำด้วย บทกาพย์ยานี ชื่อ เปิปข้าว ของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นทำนองทวงบุญคุณจากทุกคนว่า ทุกครั้งที่กินข้าวก็ขอให้นึกว่า ชาวนาทุกคนทุกข์ยากลำบากเพียงใดกว่าจะได้ข้าวมาให้คนกิน
ทรงดำเนินเนื้อหาความว่า ชาวนาทุกข์ยาก และยากจนเกินกว่าที่จะเรียกร้องลำเลิกกับใครๆ การทำนานั้นเหนื่อยยาก และยากจนที่สุดในพวกเกษตรกรรม ถ้ามีทางเป็นไปได้ก็ไม่มีอยากเป็นชาวนา
ทรงยกตัวอย่างบทกวีจีน ผู้แต่งชื่อ หลี่เชิน อยู่เมืองอู่ซี ที่แต่งไว้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 ในสมัยราชวงศ์ถัง ที่พรรณาถึงความทุกข์ของชาวนาว่าทำงานหนักแสนสาหัส
ทรงเปรียบเทียบบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ กับหลี่เชิน ว่ากวีทั้งสองอยู่ในยุคสมัยที่ห่างกันถึงพันกว่าปี แต่ต่างก็แต่งแสดงความคิดเห็นความทุกข์ยากของชาวนาเหมือนกัน ต่างกันแต่กลวิธีคือ หลี่เชินนั้นเหมือนวาดภาพชาวนาให้คนเห็น ส่วนจิตรนั้นเหมือนชาวนามาเรียกร้องด้วยตนเอง
สมเด็จพระเทพฯ ทรงกล่าวถึงบทกวีของหลี่เชินว่า ใช้ถ้อยคำเรียบๆง่าย แต่แสดงความขัดแย้งให้เห็นชัดเจนว่า สภาพภูมิดากาศและพื้นดินในยุคนั้นอุดมสมบูรณ์ พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ แต่ผลผลิตก็ไม่ได้ตกแก่ชาวนา ชาวนาทำงานหนักแต่ก็ยากจน
ทรงกล่าวว่า สภาพบ้านเมืองเปลี่ยนไป จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นกวีในยุคนี้ และพระองค์เองก็ทรงเห็นว่าไม่มีอะไรต่างกันจากเมื่อพันกว่าปีที่แล้ว คือ ชาวนาก็คงยากจน และมีความทุกข์อยู่เช่นเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นน้ำพระทัยของพระองค์ว่า ทรงเข้าใจและเห็นใจชาวนาเป็นอย่างยิ่ง
คำศัพท์ :
กำซาบ = ซึมเข้าไป
เขียวคาว = สีเขียวของข้าว ซึ่งน่าจะหอมสดชื่นกลับมีกลิ่นเหม็นคาว เพราะข้าวนี้เกิดจากหยาดเหงื่อ ซึ่งแสดงถึงความทุกข์ยากและความชมชื่นของชาวนา
จำนำพืชผลเกษตร = การนำผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวไปฝากกับหน่วยงานที่รับฝากไว้ก่อนเพื่อเอาเงินในอนาคตมาใช้ก่อน
ฎีกา = คำร้องทุกข์ การร้องทุกข์
ธัญพืช = มาจากภาษาบาลีว่า ธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ที่ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก
นิสิต = ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย
ประกันราคา = การที่รัฐ เอกชน หรือองค์กรต่าง ๆ รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่กำหนดไว้ในอนาคต ไม่ว่าราคาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
เปิบ = วิธีการใช้ปลายนิ้วขยุ้มข้าวใส่ปากตนเอง
พืชเศรษฐกิจ = พืชที่สามารถขายได้ราคาดี พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ปาล์มน้ำมัน
ภาคบริการ = อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น เช่น พนักงานในร้านอาหาร ช่างเสริมสวย
วรรณศิลป์ = ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ
สวัสดิการ = การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสะดวกสบายเช่น มีสถานพยาบาล มีที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง
สู = สรรพนามบุรุษที่ 2 เป็นคำโบราณ
อาจิณ = ประจำ
อุทธรณ์ = ร้องเรียน ร้องทุกข์
ลำเลิก = กล่าวทวงบุญคุณ กล่าวคำตัดพ้อต่อว่า โดยยกเอาความดีที่ตนทำไว้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้สำนึกบุญคุณที่ตนมีอยู่กับผู้นั้น
ข้อคิดที่ได้รับ :
1.ได้รู้ความสำคัญเกี่ยวกับอาชีพของชาวนาว่าเป็นยังไง
2.ได้รู้ว่าชาวนาต้องลำบากเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้ตามความต้อการ
3.ได้รู้ว่าทั้งหลี่เจินและจิตร ภูมิศักดิ์ ได้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับชาวนา
สรุป :
พระราชนิพนธ์เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี แสดงให้เห็นถึงความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตา อันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ทำงานแบบหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดินตลอดทั้งปี ดังนั้นในฐานะผู้บริโภคจึงควรสำนึกในคุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูกข้าวอันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของคนไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น